403 จำนวนผู้เข้าชม |
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมีสาเหตุมากมายที่ส่งผลให้เป็นข้อเสื่อมได้แม้ว่ายังไม่แก่ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ ความอ้วน การบาดเจ็บของข้อต่างๆ ลักษณะอาชีพ การทำงานหรือกิจกรรมการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงยาสเตียรอยด์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมขึ้นได้
โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะความเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน (Cartilage) และกระดูกที่ประกอบเป็นข้อ ที่เป็นกันมากๆ คือ โรคข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม ทำให้เกิดอาการปวดเวลาที่เคลื่อนไหว ลุกหรือนั่ง หากเป็นมากก็อาจมีอาการปวดขณะอยู่นิ่งๆ ร่วมด้วยได้
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคข้อเสื่อมจะเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เกิดจากการที่ผิวข้อเริ่มสึกหรอตามวัย กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงน้อยลง กระดูกอ่อนบางลง แต่ปัจจุบันพบว่า คนวัยกลางคนที่มีความเสี่ยงต่างๆเช่น ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานาน สูบบุหรี่ และได้รับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน บางคนมีประวัติการเป็นโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์บาดเจ็บบริเวณข้อมาก่อน ก็ส่งผลให้เกิดภาวะของกระดูกสะโพกตายมากขึ้น และเกิดเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นคนอายุน้อยๆอย่าพึ่งนิ่งนอนใจไป คนอายุน้อยๆ ที่เล่นกีฬาหนักก็มีโอกาสที่จะพบกับความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ทำให้เกิดอาการข้อเสื่อมได้ไว เนื่องจากมีการกระแทกบริเวณเข่ามากกว่าคนทั่วไป ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของผิวกระดูกอ่อนได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ การบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกและเส้นเอ็นบริเวณเข่า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข้าเสื่อมได้ไวกว่าคนทั่วไป จากการศึกษาวิจัยพบว่า ประมาณ 50% ของบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าบาดเจ็บบริเวณเข่า หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด เส้นเอ็นในเข่าฉีกขาด มักจะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ดังนั้นควรเลือกกิจกรรมหรือกีฬาที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดข้อเสื่อม กีฬาที่เหมาะสมก็มีหลายประเภท เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถทำการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อได้โดยที่ไม่กระแทกข้อเข่ามากเกินไป
ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน บุคคลที่ทีน้ำหนักเกินโดยเฉพาะที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เกิน 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งคิดจากน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งมักจะเป็นบุคคลที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดภาวะการบาดเจ็บของข้อได้ง่ายขึ้น ทีมงานวิจัยพบว่า คนที่มีภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะเป็นภาวะข้อเสื่อมได้เช่นกัน
เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคข้อเสื่อม แนะนำให้รักษาแต่เนิ่นๆ การรักษาประกอบไปด้วย
เมื่อทราบดังนี้แล้ว บุคคลที่อายุน้อยจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะข้อเสื่อมได้ ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดการกินยาสเตียรอยด์และแอลกอฮอล์ลง เมื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ได้ โอกาสที่จะเกิดข้อเสื่อมก่อนวัยอันควรก็จะลดลงได้
Tips and Tricks
มาสำรวจอาการเบื้องต้นกันว่า อาการอย่างไรที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคข้อเสื่อม
ข้อมูลจาก
นายแพทย์พนธกร พานิชกุล
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ